• 1209
    0

    หลังจากที่วัดแสงจนได้ภาพที่พอดี และได้สีสันตามที่ต้องการแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ภาพของเรานั้นดูดีและน่าสนใจมากขึ้น คือการจัดองค์ประกอบ หรือ  Composition ที่ดีด้วย . ซึ่งการจัดองค์ประกอบภาพนั้น มีหลายรูปแบบด้วยกัน โดยใน infographic นั้น เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางในการจัดองค์ประกอบภาพ การวางตำแหน่งของตัวแบบ เพื่อให้ภาพมีเสน่ห์และมีเรื่องราวมากขึ้นนั่นเอง สามารถนำไปปรับ หรือพลิกแพลงกับแนวรูปภาพได้หลายแบบตามความต้องการครับ
  • 1482
    0

    ช่างภาพ นับสตอปกันยังไง?  เป็นพื้นฐานของการเรียนถ่ายรูปล่ะครับ ที่จะต้องทำความเข้าใจกับ 3 ความสำคัญหลักของการถ่ายภาพ นั่นคือ รูรับแสง, ความเร็วชัตเเตอร์ และความไวแสง หรือ ISO . ค่าทั้งสามจะทำงานสัมพันธ์กัน เมื่อค่านึงให้แสงเพิ่มขึ้น อีกค่านึง ก็ต้องลดแสงลง ถึงจะเรียกว่าปรับได้สมดุลกัน และได้ภาพออกมาพอดีๆ . การเปลี่ยนแปลงไปแต่ละค่ามีหน่วยเป็นสตอป ซึ่งเราจะได้ยินบ่อยๆ ว่า อันเดอร์ 1 สตอป, ...
  • 1191
    0

    ถึงแม้ว่าตลาดกล้องส่วนใหญ่ หรือเกือบจะทั้งหมด เปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิตอลกันแล้ว แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตลาดกล้องฟิล์มกลับมาได้รับความนิยมกันอีกครั้ง กล้องฟิล์ม โดยเฉพาะกล้องคอมแพค ที่ใช้ฟิล์ม 35 มม. กลับมาขายดิบ ขายดี ช่วยให้ตลาดกล้องคึกคักขึ้นมาได้ระดับหนึ่ง
  • 1062
    0

    ถึงแม้จะเป็นการถ่ายรูปวิวทั่วๆ ไป แต่พอมีคนเข้ามา ก็จะช่วยให้เรื่องราวของรูปนั้นเดินต่อไปได้อีก อย่างภาพนี่ที่ตอนแรกผมก็ถ่ายวิวมุมนี้แค่ 2-3 ช็อต และก็คิดว่าพอแล้วแล้วล่ะ . แต่พอดีมีเรือแล่นออกมาจากแนวต้นไม้ที่อยู่ฝั่งซ้าย และแล่นช้าๆ ไปยังด้านขวาของภาพ ผมก็เลยหันกลับมาถ่ายรูปซีนนั้นต่ออีกพักใหญ่ๆ ซึ่งถ้าหากไม่มีเรือ ไม่มีคน ซีนนี้ก็คงจบลงแค่วิวภูเขาริมอ่างน้ำ ที่มีแนวเขาซ้อนๆ ไล่กันออกไปเท่านั้นล่ะครับ . พอมีคน มีเรือเข้ามา มันก็เลยทำให้คิดว่าใต้เวิ้งน้ำนั่นน่าจะอุดมสมบูรณ์อยู่ไม่น้อย จนทำให้นักตกปลาต้องเดินทางมาลอยเรือตกปลาที่นี่ และถ้าดูจากลีลาของนักตกปลา ที่เป็นการตกปลาแบบเหวี่ยงเหยื่อออกไป แล้วลากกลับเข้ามา ...
  • 1200
    0

    แพนกล้อง เป็นอีกหนึ่งแบบฝึก เวลาลงเรียนถ่ายภาพ ซึ่งเป็นการสร้างสีสันให้กับการเรียนอยู่พอสมควรทีเดียว แรกๆ หลายๆ คนจะเกร็ง หมุนกล้องตามซับเจกต์ได้มั่ง ไม่ได้มั่ง แต่พอจับจังหวะได้ ทีนี้ก็สนุกกันล่ะครับ  . ความสำคัญของการแพนกล้อง จะอยู่ที่การหมุนกล้องตามซับเจกต์นั่นแหละครับ ใช้ตัวเราเป็นแกน และต้องหมุนให้พอดีๆ กับการเคลื่อนที่ ถ้าหมุนไปก่อนซับเจกต์ รูปก็จะเบลอๆ ถ้าหมุนช้ากว่าซับเจกต์ รูปก็จะเบลอเช่นเดียวกันครับ ถ้าหมุนได้พอดีๆ ซับเจกต์จะชัด ส่วนฉากหลังจะเบลอๆ เป็นเส้นๆ แล้วที่สำคัญ ...
  • 1353
    0

    หลายๆ ครั้งที่ผมจัดองค์ประกอบภาพ ส่วนใหญ่ก็มักจะวางจุดสนใจไว้ที่ตำแหน่งของจุดตัด 9 ช่องครับ…ทีนี้อาจจะมีคำถามตามมาว่า แล้วจุดตัด 9 ช่องคือตรงไหน?? . จุดตัด 9 ช่อง และกฎ 3 ส่วน ถือเป็นความรู้พื้นฐานในการจัดองค์ประกอบภาพ จุดตัดเกิดจากการแบ่งเฟรมภาพเป็น 3 ส่วน ทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง ด้วยเส้นสองเส้น พอแบ่งแล้ว จะได้จุดตัดของเส้นแนวนอนและแนวตั้ง 4 จุด ซึ่งเป็นจุดที่เหมาะสมที่จะวางซับเจกต์หลัก ...
  • 1128
    0

    Anthimos Ntagkas ช่างภาพสตรีท อดีตทหารประจำกองทัพกรีก ผู้หลงใหลในการถ่ายภาพสตรีทของผู้คนตามท้องถนน และสถานที่ต่างๆ และค่อยๆพัฒนาทักษะการถ่ายภาพในรูปแบบที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นของตัวเองมากขึ้น ภาพถ่ายแต่ละภาพของเขามีความโดดเด่นในเรื่องของการเล่าเรื่องราวในสไตล์ของตัวเอง
  • 2490
    0

    ตั้งกล้องยังไง ให้ได้ภาพคมชัด  ช่างภาพมือใหม่หลายๆ คน มักจะมีปัญหากับการถ่ายภาพ แล้วได้ภาพที่ไม่คมชัด ซึ่งอาจจะเกิดได้ทั้งจากความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานของการถ่ายภาพที่ไม่ดีพอ หรือเกิดจากการปรับตั้งค่ากล้องผิดพลาด ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้ภาพคมชัดนั้น มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน มาดูว่ามีอะไรกันบ้าง
  • 3003
    0

    5 ปัจจัย ถ่ายให้หน้าชัดหลังเบลอ คำถามที่ได้รับการถามมากที่สุดในการอบรมถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ หลายๆ ครั้งคือ “จะถ่ายยังไงให้หน้าชัดหลังเบลอ” “ถ่ายยังไงให้ได้โบเก้” ซึ่งในการเรียนรู้พื้นฐานการถ่ายภาพ จะมีปัจจัยหลักที่จำเป็นต้องรู้อยู่ 3 อย่าง นั่นคือ ความเร็วชัตเตอร์, รูรับแสง และความไวแสง ซึ่งผลที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงของค่าทั้งสามนั้น ก็จะแตกต่างกันไป โดยปัจจัยที่ควบคุมในเรื่องของชัดลึก หรือชัดตื้น คือ รูรับแสง ดังนั้น การถ่ายภาพใดๆ ก็ตามที่ต้องการเอฟเฟคต์แบบนี้ จึงต้องให้ความสำคัญกับรูรับแสงเป็นหลัก ...
  • 4368
    0

      สำหรับมือใหม่ที่เริ่มต้นที่จะจริงจังกับการถ่ายภาพ ความรู้พื้นฐานที่จะต้องเรียนรู้คือ จะต้องเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วชัตเตอร์ รูรับแสง และความไวแสง ทั้ง 3 ค่านี้จะมีความสัมพันธ์กันตลอดเวลา ไม่ว่าจะต้องการภาพแบบไหนก็ตาม