Knowledge Photography

Printer Care เคล็ดลับการดูแล-รักษาเครื่องพิมพ์

การดูแล และบํารุงรักษาเครื่องพิมพ์อาจจะไม่ใช่งานที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพโดยตรง อาจจะเป็นงานที่น่าเบื่อ แต่การทำความสะอาดเครื่องพิมพ์เป็นขั้นตอนที่จำเป็น เพื่อให้พรินเตอร์สามารถพิมพ์ภาพที่มีคุณภาพสูงสุด

     เคล็ดลับการบํารุงรักษาเครื่องพิมพ์ที่อยู่ในบทความนี้ เป็นขั้นตอนที่ง่าย ปฏิบัติตามได้สะดวก และสามารถคงคุณภาพการพิมพ์และช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องพิมพ์ให้นานที่สุดได้อีกด้วย​

     พรินเตอร์ที่มีใช้งานในท้องตลาดมีอยู่หลายชนิด หลายระดับราคา ตั้งแต่รองรับงานพิมพ์ธรรมดา ไปจนถึงการพิมพ์ภาพระดับอาชีพ และเครื่องพิมพ์หน้ากว้างสำหรับงานอุตสาหกรรม แต่ไม่ว่าจะเป็นพรินเตอร์ในระดับใดก็ตาม จะมีขั้นตอนการทำงาน และการบํารุงรักษาพื้นฐานที่คล้ายกัน เมื่อใช้งานและดูแลรักษาถูกวิธี ก็ส่งผลให้เครื่องพิมพ์ภาพนั้นคงคุณภาพการพิมพ์ได้สูงสุด

 

 

1. Printing frequency ความถี่ในการใช้งานหรือพิมพ์บ่อยๆ
     การใช้งานพิมพ์ต่อเนื่อง หรือมีความถี่ในการพิมพ์บ่อยๆ เป็นสิ่งสำคัญของเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท หัวพิมพ์มีการใช้งานสม่ำเสมอ ช่วยให้หัวพิมพ์ไม่ตัน แต่หากเครื่องพิมพ์ถูกทิ้งไว้ หรือไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน ไม่มีหมึกวิ่งผ่านหัวพิมพ์ หมึกที่ตกค้างอยู่จะแห้ง แข็ง ติดอยู่ที่หัวพิมพ์ ทำให้เครื่องพิมพ์ไม่สามารถทำงานได้ หรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ หากไม่มีงานพิมพ์ต่อเนื่อง หรือไม่ได้ใช้งานบ่อยๆ อย่างน้อยควรเปิดเครื่องพิมพ์และพิมพ์ภาพเดือนละครั้ง เพื่อให้เครื่องทำงานและหมึกไหลเวียนในระบบ ป้องกันไม่ให้หัวพิมพ์ตัน

2. Head cleaning การล้างหัวพิมพ์
     ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ทราบดีว่าการล้างหัวพิมพ์เป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งต้องทำตามขั้นตอนและตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่ผู้ใช้งานหลายคนก็ละเลยที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนนี้ กับเครื่องพิมพ์ที่ถูกใช้งานบ่อย อาจจะไม่ต้องล้างหัวพิมพ์บ่อยตามระยะเวลาได้ แต่หากเครื่องพิมพ์ไม่ได้ใช้งานเป็นประจำ หรือเมื่อไหร่ที่มองเห็นสีของภาพเป็นเส้น นั่นหมายถึงว่าได้เวลาที่คุณต้องทำการล้างหัวพิมพ์แล้ว

3. Clean the rollers ทำความสะอาดลูกกลิ้ง
     ลูกกลิ้งฟีดกระดาษ ทำหน้าที่พากระดาษนอกตัวเครื่องพิมพ์เข้าไปในตัวเครื่อง ไปยังหัวพิมพ์เพื่อพิมพ์ภาพ เป็นจุดที่มักถูกมองข้ามด้านการทําความสะอาด ลูกกลิ้งนี้จะเป็นที่สะสมของฝุ่นจำนวนมาก ซึ่งฝุ่นจะติดเข้าไปกับกระดาษและเข้าไปสะสมอยู่ในตัวเครื่อง การทำความสะอาดสามารถใช้ผ้านุ่มๆหรือจะใช้แอลกอฮอล์ร่วมด้วยก็ได้ อาจจะเปิดเครื่องให้ลูกกลิ้งนี้หมุนเพื่อให้สามารถเช็ดลูกกลิ้งทั้งสองอันได้ทั่วถึงเพื่อให้สะอาด ปราศจากฝุ่น
     และไม่ควรเสียบหรือทิ้งกระดาษไว้ในถาดป้อนกระดาษ เพราะจะยิ่งเป็นการเพิ่มปริมาณฝุ่นให้เข้าไปในตัวเครื่องมากขึ้น

4. Internal roller cleaning ทำความสะอาดูกกลิ้งด้านในตัวเครื่อง
     เครื่องพิมพ์ภาพหลายรุ่น อาจจะไม่มีฟังก์ชั่นการทำความสะอาดลูกกลิ้งภายในมาให้ด้วย แต่วิธีการที่แนะนำคือ ให้นำกระดาษเปล่าที่หยดแอลกอฮอล์ไว้ นำมาผ่านการพิมพ์ตามปรกติ อาจจะทำโดยการสั่งพิมพ์เอกสารเปล่าในโปรแกรม Photoshop ทำซ้ำๆสองสามครั้ง จะช่วยให้ลูกกลิ้งด้านในสะอาดขึ้นได้ แต่มีข้อควรระวังคือการหยดแอลกอฮอล์ลงบนกระดาษให้ทำเฉพาะพื้นที่บริเวณกลางกระดาษเท่านั้น ให้เว้นบริเวณขอบกระดาษไว้ไม่หยดทั่วทั้งแผ่น

5. Cartridge installation การใส่ตลับหมึก
     การใส่หรือเปลี่ยนตลับหมึก อาจจะดูเป็นเรื่องง่ายที่อาจมองข้ามและละเลยจนอาจสร้างความเสียหายให้พรินเตอร์ได้ ต้องมั่นใจว่าใส่ตลับหมึกถูกด้าน สำหรับตลับหมึกแยกสีหลายสี ต้องมั่นใจว่าตลับที่ใส่หรือเปลี่ยนนั้นเป็นรหัสสีที่ถูกต้อง อย่าลืมดึงแถบกระดาษหรือริบบอนก่อนใส่ตลับหมึกเสมอ เพราะอาจ​จะเข้าไปทำ​ใส​ห้ตัวเครื่องเสียหาย หรือเกิดปัญหาในขั้นตอนการ​พิมพ์ได้

6. Head alignment checks ตรวจสอบและจัดตำแหน่งหัวพิมพ์
     ควรทดสอบการจัดตําแหน่งหัวพิมพ์เป็นระยะ เนื่องจากอาจมีการเลื่อนตำแหน่งของหัวพิมพ์เกิดขึ้นทีละน้อยในการใช้งานแต่ละครั้ง ซึ่งอาจสังเกตุได้จากการเกิดเส้นสีเข้ม แถบสีที่ไม่สม่ำเสมอบนงานพิมพ์ หรือความผิดปรกติอื่นๆ
     การจัดตำแหน่งหัวพิมพ์นี้ สามารถทําได้ในเมนูการบํารุงรักษาหรือเมนูการตั้งค่าของเครื่องพิมพ์ ทำได้ทั้งการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และไม่ใช้ การจัดตำแหน่งหัวพิมพ์นึ้จะช่วยสร้างความมมั่นใจได้ว่าหัวฉีดหมึกแต่ละหัวจะอยู่ในตําแหน่งที่ถูกต้องเพื่อให้ได้คุณภาพการพิมพ์ที่ดีที่สุด
.
     นอกจากเคล็ดลับที่กล่าวมาแล้วนั้น การใช้หมึกคุณภาพสูง, การอัพเดท driver, การปิดสวิทช์ที่ตัวเครื่องทุกครั้งหลังใช้งาน แทนการถอดปลั๊กเครื่องพิมพ์ ก็จะช่วยยืดอายุให้พรินเตอร์ และยังได้งานพิมพ์ที่มีคุณภาพสูงสุดเสมอ

ต้นฉบับ : Printer maintenance explained: Get the most out of your photo printer
.
1 ตุลาคม 63