Basic

Common Cityscape Photo Mistakes

นอกจากด้วยเหตุผลของการมีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวตามประเทศหรือเมืองอื่นที่ทำให้เกิดความสนใจในการถ่ายภาพ Cityscape แล้ว สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนส่วนใหญ่ชอบถ่ายภาพลักษณะนี้คือเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่มักถูกดึงดูดด้วยรูปแบบ เส้น และความมีชีวิตชีวาในภาพทิวทัศน์เมือง รวมทั้งโดยพื้นฐานแล้วการถ่ายภาพ Cityscape ยังต้องการแค่อุปกรณ์ถ่ายภาพที่มีขนาดไม่ใหญ่และขาตั้งกล้องที่มีความมั่นคงเท่านั้น โดยเพียงแค่เลนส์ซูมที่มีช่วงตั้งแต่มุมกว้างถึงชึ่งมาตรฐานก็สามารถใช้ถ่ายภาพส่วนใหญ่ได้ แต่อย่างไรก็ตามมักมีข้อผิดพลาดบางอย่างเกิดขึ้นได้เสมอในการถ่ายภาพ Cityscape ซึ่งนักถ่ายภาพสามารถแก้ไขได้เพื่อทำให้ภาพดีขึ้น โดยต่อไปนี้เป็นข้อผิดพลาดเหล่านั้น

ภาพอันเดอร์

ปัญหา : แม้ระบบวัดแสงของกล้องถ่ายภาพในปัจจุบันจะช่วยให้ค่าการรับแสงที่ถูกต้องในการถ่ายภาพโดยใช้แสง Daylight ทั่วๆ ไปจนนักถ่ายภาพสามารถวางใจที่จะใช้โหมดถ่ายภาพอัตโนมัติได้ แต่กล้องมักจะมีปัญหาเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ที่ต้องวัดแสงไฟประดิษฐ์ที่สว่างมากโดยมีฉากหลังเป็นท้องฟ้าที่มืดตอนกลางคืน ซึ่งทำให้ภาพ Cityscape จำนวนมากที่ถ่ายหลังจากดวงอาทิตย์ตกไปแล้วค่อนข้างมืดหรือรับแสงอันเดอร์

วิธีแก้ไข : สิ่งสำคัญเมื่อถ่ายภาพในสถานการณ์นี้คือนักถ่ายภาพควรตรวจ Histogram ในกล้องแทนการวางใจในโหมดถ่ายภาพอัตโนมัติหรือระบบวัดแสง โดยหาก Histogram อยู่ที่ด้านซ้ายมากก็ควรเพิ่มการรับแสงเพื่อชดเชย และโดยทั่วไปเมื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ของเมืองตอนกลางคืนที่มีแสงไฟสว่างมากหลายๆ สถานการณ์อาจต้องเพิ่มการรับแสงขึ้นถึงหนึ่งสตอปหรือมากกว่า


ท้องฟ้าดำมืดตอนกลางคืน

ปัญหา : โดยทั่วไปตอนที่ท้องฟ้ามืดสนิทไม่ใช่ช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ของเมือง เพราะตอนที่ท้องฟ้ามืดสนิทจะหมายถึงการไม่มีแสงอื่นนอกจากแสงไฟของเมือง ทำให้นอกจากเห็นจุดของแสงเล็กๆ จำนวนมากในภาพแล้วจะเห็นรายละเอียดของอาคารในเมืองเพียงเล็กน้อย

วิธีแก้ไข : หากจะถ่ายภาพทิวทัศน์ของเมืองตอนกลางคืนควรไปให้ถึงสถานที่ที่ต้องการถ่ายภาพอย่างช้าที่สุดคือตอนที่ก่อนดวงอาทิตย์ตก แล้วรอจนกระทั่งดวงอาทิตย์ลับของฟ้า ซึ่งจะเกิดช่วง Blue Hour ซึ่งท้องฟ้าเปลี่ยนเป็นสีฟ้าเข้มอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งโดยอาจจะนานได้ถึงครึ่งชั่วโมงหลังดวงอาทิตย์ตกก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นมืดสนิท โดยในช่วงเวลานี้จะให้ภาพที่มีความสมดุลย์ในเรื่องแสงมากขึ้นทั้งที่ท้องฟ้าและแสงไฟต่างๆ จากอาคารหรือถนน


ไวต์บาลานช์ไม่ดี

ปัญหา : การทำงานปรับไวต์บาลานช์อัตโนมัติก็ไม่ต่างกับโหมดบันทึกภาพอัตโนมัติที่มีปัญหากับแสงไฟตอนกลางคืน โดยเมื่อแสงไฟมีความแรงเหมือนแสงธรรมชาติกล้องจะเริ่มตัดสินใจไม่ได้ว่าแสงใดที่ควรปรับไวต์บาลานช์

วิธีแก้ไข : หากถ่ายภาพแบบ RAW ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีนักถ่ายภาพจะสามารถปรับไวต์บาลานช์ของภาพภายหลังด้วยซอฟต์แวร์ได้ แต่ไม่ว่าจะถ่ายภาพแบบใดวิธีที่ดีคือการปรับไวต์บาลานช์แมนวล ซึ่งนักถ่ายภาพอาจต้องอาศัยประสบการณ์กับกล้องที่ใช้ว่าไวต์บาลานช์แบบใดที่จะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด นอกจากนี้ควรสังเกตด้วยว่าส่วนต่างๆ ของภาพอย่างสิ่งที่อยู่ในฉากหน้าและอาคารที่ฉากหลังได้รับแสงที่มีอุณหภูมิสีแตกต่างกันหรือไม่ ซึ่งหากเป็นลักษณะนี้คงต้องเลือกไวต์บาลานช์ที่เหมาะสมกับส่วนที่สำคัญของภาพ


เส้นในภาพเอนไปด้านหลัง

ปัญหา : อาคารสูงมักเป็นสิ่งสำคัญหรือองค์ประกอบหลักของทิวทัศน์มาก ซึ่งปัญหาเส้นตรงเอนไปด้านหลังเนื่องจากเพอร์สเปกทีฟดิสทอร์ชั่นสามารถเป็นสิ่งที่ทำลายภาพได้ โดยที่เพอร์สเปกทีฟดิสทอร์ชั่นมักเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปเมื่อใช้เลนส์มุมกว้าง

วิธีแก้ไข : การแก้ไขปัญหานี้คือพยายามถ่ายภาพโดยรักษากล้องให้ได้ระดับหรือขนานกับสิ่งที่ถ่ายภาพเพื่อหลีกเลี่ยงการเอนของเส้นจากการเอียงกล้องขึ้นหรือลง หรือจากนี้ยังมีวิธีแก้ไขที่แพงขึ้นด้วยการใช้เลนส์ทิลต์-ชิฟต์ หรือการใช้ซอฟต์แวร์ที่สามารถประแก้เส้นให้ตรงได้โดยที่ยอมสูญเสียบางส่วนของภาพ

เรียบเรียง : กองบรรณาธิการ


อย่าลืมกด Like เพจ FOTOINFO เพื่อติดตามและอัพเดทข่าวสารใหม่ๆ อย่างทันท่วงทีกันนะคร๊าบ ^^


หากเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ ฝากกดไลค์และแชร์ด้วยนะครับ
FOTOINFO มี LINE@ OFFICIAL แล้ว !!! อย่าลืมแอดไลน์ @FOTOINFO (หรือสแกน QR Code ในภาพนี้)

ขอบคุณครับ

ติดตาม FOTOINFO ได้ทั้งรูปแบบนิตยสาร Free Copy, e-magazine ฟรีดาวน์โหลด และช่องทางอื่นๆออนไลน์ได้ที่
Line@ : @fotoinfo
YouTube : Fotoinfo Channel
Website : fotoinfomag.com
e-magazine : issuu.com/fotoinfomagazine


ติดตามเทคนิค ความรู้เรื่องการถ่ายภาพ กิจกรรมถ่ายภาพ และสิทธิประโยชน์มากมาย ส่งตรงถึงคุณ ได้ที่นี่ FotoinfoPlus

หรือสนใจสาระความรู้ด้านการถ่ายภาพที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่นี่

https://test2.fotoinfo.online/all-about-photo/basic