Basic

7  ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยกับช่างภาพ

7  ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยกับช่างภาพ
แปลจาก : 7 Mistakes Every Photographer Makes
     ช่างภาพทุกคนต่างเคยพบเจอกับความผิดพลาดหลายๆครั้ง ทั้งที่เกิดขึ้นในขณะถ่ายภาพ เกิดขึ้นจากความไม่รอบคอบของตัวเอง

ช่างภาพมืออาชีพจำนวนไม่น้อยผ่านความผิดพลาดต่างๆมานับครั้งไม่ถ้วน ช่างภาพมือใหม่อีกมากที่พบกับความผิดพลาดจากประสบการณ์ที่ไม่มากพอ ความผิดพลาดต่างๆที่เกิดขึ้นนี้อาจส่งผลกระทบถึงงานหรือช่างภาพคนอื่นๆได้  การเรียนรู้ถึงข้อผิดพลาดต่างๆจึงมีความจำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดข้อผิดพลาดขึ้นซ้ำๆ

#1: Working for Free รับงานถ่ายภาพฟรีๆ
ช่างภาพหลายคนอาจจะมองว่าเรื่องนี้ไม่ใช่สาระสำคัญในการถ่ายภาพ โดยเฉพาะกับคนกันเอง คนรู้จักหรือเพื่อนๆที่ทั้งสนิทมาก สนิทน้อยหรือไม่สนิทกันเลยก็ตาม การรับงานถ่ายภาพช่างภาพทุกคนมีค่าใช้จ่าย อย่างน้อยที่สุดค่าอุปกรณ์ ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายประจำวันอื่นๆ ซึ่งล้วนเป็นต้นทุนทั้งสิ้น การรับงานฟรียังส่งผลกระทบถึงช่างภาพคนอื่นๆที่รับงานถ่ายภาพเป็นอาชีพโดยที่เราไม่คาดคิดอีกด้วย
ปัจจุบันในบ้านเรามีนักถ่ายภาพไม่น้อยที่รับงานราคาต่ำมาก อาจจะเพราะขาดประสบการณ์ หรือเป็นมือใหม่ หรืออีกจำนวนไม่น้อยที่ใช้สมาร์ทโฟนรับงานและคิดค่าใช้จ่ายราคาถูกมาก เรื่องนี้ส่งผลกระทบกับช่างภาพที่รับงานโดยตรงค่อนข้างมากเลยครับ

#2: Being Afraid กลัวที่จะสื่อสารกับคนแปลกหน้า
การออกไปถ่ายภาพ outdoor หลายๆสถานการณ์เราอาจต้องได้รับความร่วมมือจากคนแปลกหน้าที่อาจจะถูกบันทึกภาพเข้ามาในเฟรมด้วย เช่นการเดินถ่ายภาพทั่วๆไปตามท้องถนน ปัญหานี้แก้ไขได้ไม่ยากด้วยการเข้าไปพูดคุยกับบุคคลเหล่านั้น อธิบายให้พวกเขาเข้าใจว่าสิ่งที่เรากำลังทำคืออะไร หรือช่างภาพงานอีเว้นท์ งานแต่งงาน การเข้าไปพูดคุยทำความคุ้นเคยหรือแม้แต่การสั่ง การร้องขอให้ผู้ถูกถ่ายภาพทำท่าทางต่างๆ การพูดคุยทำให้ช่องว่างระหว่างช่างภาพกับผู้ถูกถ่ายภาพลดลง ให้ผลลัพธ์การถ่ายภาพที่ออกมาดีกว่า ได้ภาพที่มีการแสดงออกของบุคคลต่างๆที่ดูเป็นธรรมชาติ และตามที่ต้องการได้เสมอ

 


#3: Shooting in the Wrong Mode การเลือกใช้โหมดถ่ายภาพที่ผิด หรือการตั้งค่าถ่ายภาพผิด
ส่วนใหญ่เกิดจากการเผลอ หรือความบังเอิญที่ช่างภาพอาจปรับค่าอื่นๆโดยไม่ตั้งใจ เช่นนิ้วมืออาจไปกด หรือเลื่อนการตั้งค่าที่ต้องการและถ่ายภาพไปโดยไม่ได้ตรวจสอบ หรืออาจจะเกิดจากการไม่ได้ตรวจสอบการตั้งค่าที่ใช้ประจำซึ่งอาจจะถูกเปลี่ยนหรือตั้งค่าใหม่จากคนที่มาขอยืมกล้องไปใช้ก่อนหน้าก็เป็นได้ ซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ง่ายๆด้วยการสร้างนิสัยให้ตัวเองตรวจสอบการตั้งค่ากล้องก่อนการใช้งานทุกครั้ง และตรวจสอบอีกครั้งก่อนเริ่มงานถ่ายภาพจริง หรือกล้องบางรุ่นจะมี Custom fn. ให้เลือกตั้งค่าตามผู้ใช้งาน หรือลักษณะที่ใช้ประจำ ควรตั้งค่าไว้เพื่อความรวดเร็วในการตรวจสอบและใช้งานครับ
ปัญหานี้เกิดขึ้นกับผม(ผู้แปล)ล่าสุดในการถ่ายภาพงานแต่งงาน เพราะความรีบจึงไม่ได้ตรวจสอบว่าการตั้งค่าจุดโฟกัสและค่าวัดแสงถูกเปลี่ยนไป กว่าจะรู้ตัวภาพช่วงแรกๆประมาณยี่สิบภาพก็เสียหายไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ น่าเสียดายมากครับ

 


#4: Not Cleaning the Lens ไม่ได้ทำความสะอาดเลนส์
เลนส์ถ่ายภาพ เป็ยอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากในการถ่ายภาพ การนำออกไปใช้งานในแต่ละครั้ง ผิวหน้าเลนส์มักจะมีฝุ่น มีรอยนิ้วมือ คราบน้ำ หรืออื่นๆที่เกิดจากการใช้งานติดมาด้วยเสมอ คราบต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่มาลดคุณภาพความคมชัดและรายละเอียดของภาพได้โดยตรง แม้แต่การใส่ฟิลเตอร์ปกป้องหน้าเลนส์ไว้ก็ตาม ฝุ่นขนาดเล็กมากๆยังสามารถหลุดรอดเข้าไปเกาะที่ผิวเลนส์ได้ ควรทำความสะอาดผิวเลนส์ด้วยการเป่าฝุ่นและทำความสะอาดฟิลเตอร์อย่างถูกวิธีด้วยลูกยาวเป่าลมและกระดาษหรือผ้าเช็ดเลนส์
ควรสังเกตุภายในกระบอกเลนส์เป็นประจำเพื่อดูว่ามีฝุ่นเข้าไปภายในกระบอกเลนส์ หรือมีสิ่งอื่นๆเช่น ฝ้า รา เกิดขึ้นภายในหรือไม่ หากมี ไม่แนะนำให้ทำความสะอาดเอง ควรรีบนำส่งศูนย์บริการให้ช่างที่มีความชำนาญจัดการให้ครับ

 

#5: Not Bringing Enough Memory Cards/Batteries  ไม่นำเมมโมรี่การ์ดและไม่มีแบตเตอรี่สำรอง
คงไม่มีช่างภาพคนไหนที่อยากให้เกิดเหตุการณ์เมมเต็มหรือลืมเมมและแบตกำลังจะหมดในขณะกำลังถ่ายภาพอยู่แน่ๆใช่มั๊ยครับ ช่างภาพที่เคยเจอเรื่องแบบนี้บอกได้คำเดียวว่า “งานเข้า” การหลีกเลี่ยงสถานการ์นี้ได้ดีที่สุดคือการนำเมมโมรี่การ์ดติดตัวไปสำรองไว้ใช้งาน  และควรนำแท่นชาร์จ และนำแบตเตอรี่ติดตัวไปมากกว่า 2 ก้อนโดยเฉพาะหากเป็นกล้อง mirrorless ที่กินพลังงานสูงมาก
ช่างภาพหลายท่านอาจจะนำอุปกรณ์เก็บข้อมูลภายนอกประเภท hdd, ssd หรืออื่นๆติดตัวไปเพื่อถ่ายโอนไฟล์เข้าไปเก็บไว้สำรอง เป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับไฟล์ภาพได้ แต่การนำเมมโมรี่การ์ดติดตัวไปสำรองก็ยังเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติให้เป็นความเคยชิน  และควรหาซื้อแท่นชาร์จแบตเตอรี่มาใช้งาน เพราะสามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้โดยที่ยังนำกล้องไปถ่ายภาพได้ ให้ความสะดวกในการทำงานมากกว่า กล้องหลายรุ่นอาจจะชาร์จไฟผ่านเพาเวอร์แบงค์ในขณะใช้งานไปด้วยได้ แต่ในการทำงานจริงไม่ค่อยสะดวกครับ เก็บไว้ชาร์จเวลาจำเป็นขณะเดินทางดีกว่า

 


#6: Not Properly Backing Up Your Photos ไม่มีการ back up  หรือเก็บไฟล์ภาพลงในอุปกรณ์อื่นๆ
ช่างภาพจำนวนไม่น้อยที่ยังคงเก็บไฟล์ภาพไว้ในเมมโมรี่การ์ด ที่นำติดตัวไปใช้งานทุกครั้ง เมื่อถ่ายภาพเสร็จแล้วไม่เคยจัดการกับไฟล์เหล่านั้นเลย หลายๆคนโอนไฟล์ไปจัดการและส่งงานเสร็จเรียบร้อยก็ไมีมีการแยกไฟล์เหล่านั้นเก็บไว้ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่นๆเลย วิธีการที่ควรจัดการกับไฟล์เหล่านี้คือแยกเป็นโฟลเดอร์เก็บเอาไว้ในอุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่นๆที่ปลอดภัยและมีราคาถูกมากในปัจจุบัน  การเก็บไว้ในเมมโมรี่การ์ด หรือ pc หรือโน๊ตบุ๊ค มีความเสี่ยงที่ไฟล์เหล่านั้นจะเสียหายได้ง่ายกว่า และยังเปลืองพื้นที่ในการทำงานอีกด้วย

 


#7: Breaking Your Camera การทำกล้องพัง
กรณีนี้อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายอย่าง อุปกรณ์ของคุณมีราคาแพง ใช้งานแล้วควรเก็บรักษาให้ดีๆ ใช้งานอย่างระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการซ่อมแซมหรือแก้ไขอาการเสียหายด้วยตัวเอง ทั้งนี้เพื่อให้คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปครับ

ที่มา  :  https://petapixel.com/2013/07/03/7-mistakes-every-photographer-makes/, https://petapixel.com/2013/06/18/5-great-ways-to-destroy-your-camera/