Photo Techniques

6 ไอเดีย เพิ่มความน่าสนใจให้ภาพ Landscape : 6 Ideas for More Creative Landscape Photography

6 ไอเดีย เพิ่มความน่าสนใจให้ภาพ Landscape

แปลจาก  : 6 Ideas for More Creative Landscape Photography โดย : Simon Bond

ที่มา : digital-photography-school.com

เป็นไอเดียในการนำเทคนิคการถ่ายภาพประเภทต่างๆ มาใช้ร่วมกับการถ่ายภาพ Landscape ที่จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจ และสร้างความแตกต่างให้กับภาพถ่ายได้มากกว่าการถ่ายภาพสถานที่ต่างๆแบบธรรมดาๆทั่วไปที่เห็นกันจนชินตา โดยเฉพาะกับมุมมหาชนในสถานที่ที่คนนิยมไปถ่ายภาพกัน

 

1 – Infrared Photography ถ่ายภาพอินฟาเรด
       เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมานาน แสงอินฟาเรดเป็นแสงที่ตามนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่กล้องถ่ายภาพ หรือฟิล์มอินฟาเรด จะสามารถจับคลื่นแสงนี้ได้ และถ่ายทอดออกมาเป็นสีสันที่เราไม่คุ้นเคย
       การใช้กล้องดิจิตอลสามารถทำได้หลายวิธีเช่น เลือกเปลี่ยนค่า White Balance การนำภาพไปตกแต่งด้วยโปรแกรม หรือแม้แต่นำกล้องไปดัดแปลงเพื่อใช้งานถ่ายภาพอินฟาเรดโดยเฉพาะ ภาพที่ได้จะมีสีสันที่มีลักษณะแตกต่างจากภาพปรกติที่ดูแปลกตาและน่าสนใจมากขึ้น

 

 

2 – Aerial Photography ภาพถ่ายทางอากาศ
       เป็นภาพถ่ายจากมุมสูง เป็นอีกมุมที่ทำให้ภาพถ่ายมีความแตกต่างและน่าสนใจจากภาพมุมเดิมๆ ปัจจุบันภาพถ่ายมุมสูงพบเห็นได้บ่อยมากขึ้นเพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้โดรนมีราคาถูก ขณะเดียวกันก็ให้ภาพที่มีคุณภาพสูงมากด้วย ช่างภาพจำนวนมากนิยมหามาไว้ใช้งาน โดรนบางรุ่นสามารถติดตั้งกล้อง DSLR เพื่อนำขึ้นไปถ่ายภาพได้อีกด้วย
       ภาพถ่ายจากบนเครื่องบิน โดยถ่ายผ่านหน้าต่างของเครื่องเป็นภาพมุมสูง สิ่งที่ควรระวังคือเครื่องบินบินด้วยความเร็วสูง จึงต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงพอที่จะทำให้ภาพออกมาคมชัด หรืออีกวิธีที่สามารถทำได้คือการถ่ายภาพด้วยบัลลูน

 

 

3 – Refraction ภาพเงาสะท้อน
       เป็นภาพสะท้อนของวัตถุผ่านน้ำ หยดน้ำ แก้ว หรือวัตถุอื่นๆที่สามารถสะท้อนวัตถุที่ต้องการถ่ายได้ ภาพประเภทนี้จะเป็นภาพจริงกลับหัว ให้ภาพที่มีมุมมองคล้ายๆกับการใช้เลนส์ fisheye ปัจจุบันเป็นแนวการถ่ายภาพที่ได้รับความนิยม

 

 

4 – Shoot a 360-Degree Panorama ถ่ายภาพพานอราม่า 360 องศา
       การถ่ายภาพพานอราม่า จะให้ภาพที่มีมุมมองกว้าง นิยมนำมาใช้ถ่ายภาพแบบ Landscape มานาน เป็นฟังก์ชั่นหนึ่งที่มีอยู่ในกล้องแทบทุกรุ่น ปัจจุบันสามารถแต่งภาพพานอราม่าให้เป็นภาพ 360 องศา ทรงกลมและสัดส่วนผิดเพี้ยไปจากความเป็นจริงด้วยโปรแกรมแต่งภาพ หรือ App. ที่มีออกมาให้ใช้งานได้อย่างง่ายๆ

 

 

5 – Long Exposure ถ่ายภาพแสงไฟกลางคืน
       เทคนิคการถ่ายภาพแบบนี้ต้องใช้การเปิดความเร็วชัตเตอร์ต่ำ และวางกล้องไว้บนขาตั้งกล้อง ควรใช้สายลั่นชัตเตอร์หรือตั้งเวลาถ่ายภาพ เพื่อหลีกเลี่ยงการสั่นสะเทือนของกล้องที่อาจทำให้ภาพขาดความคมชัดได้ สามารถใช้เทคนิคนี้กับการถ่ายภาพ แสงไฟกลางคืน สายน้ำหรือการเคลื่อนที่ของเมฆก็ได้ มีเทคนิคง่ายๆดังนี้
     การถ่ายแสงไฟรถ ใช้ความเร็วชัตเตอร์ประมาณ 5 วินาที หากมีตึกหรือสิ่งก่อสร้างเข้ามาอยู่ในภาพร่วมด้วยจะทำให้ภาพดูมีความเคลื่อนไหว น่าสนใจมากขึ้น
     ภาพสายน้ำ ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำกวา 2 วินาทีจะทำให้สายน้ำดูนุ่ม หรือภาพคลื่นในทะเล ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำกว่า 10 วินาที

 

 

6 – Astrophotography ภาพถ่ายดวงดาว
       เป็นหนึ่งในการถ่ายภาพ Landscape ที่ได้รับความนิยม กล้องถ่ายภาพรุ่นใหม่ๆให้คุณภาพของภาพที่ดี โดยเฉพาะเรื่องของการจัดการ noise เมื่อต้องใช้ค่าความไวแสงสูงๆ (high iso) ถ่ายภาพ
       การถ่ายภาพดวงดาวที่ได้รับความนิยม เช่น ภาพทางช้างเผือก โดยตั้งค่ารูรับแสงที่กว้างสุดของเลนส์ที่ใช้ และความเร็วชัตเตอร์ประมาณ 25 วินาที ค่าความไวแสงที่ ISO 6400 หรือภาพการเคลื่อนตัวของดวงดาว โดยตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ 15 นาที หรืออาจจะใช้ที่ความเร็วชัตเตอร์ 30 วินาที ถ่ายภาพหลายๆภาพแล้วนำมารวมกันเป็นภาพเดียวด้วยโปรแกรมในคอมพิวเตอร์ก็ได้

 

ยังมีวิธีและเทคนิคอื่นๆที่สามารถนำมาใช้ร่วมกับการถ่ายภาพ Landscape อีกหลากหลายวิธี หากลองวิธีทั้ง 6 ที่กล่าวมาแล้ว ลองใช้เทคนิคใหม่ๆเพื่อให้ได้ภาพที่มีความแตกต่างและมีความน่าสนใจอื่นๆได้อีก