Photo Techniques Photography

5 เคล็ดลับการถ่ายภาพ Landscape ขาวดำ

5 เคล็ดลับการถ่ายภาพ Landscape ขาวดำ 

ทุกวันนี้ภาพสีกลายเป็นภาพถ่ายที่ทุกคนเห็นคุ้นตา อาจเป็นเพราะภาพถ่ายสีเป็นภาพถ่ายที่ดูสวยงาม ลงตัว เหมาะกับการถ่ายภาพทุกประเภท และยังนำไปใช้งานได้หลากหลาย​  แต่อย่างไรก็ตาม การถ่ายภาพขาวดำทั้งจากฟิล์มและจากระบบดิจิตอล ก็ยังได้รับความนิยมมากพอสมควร และยังสามารถพบเห็นได้บ่อย ภาพถ่ายขาวดำหลายๆภาพดูสวย มีเสน่ห์ เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง และยังนำไปใช้กับการถ่ายภาพได้ทุกประเภท รวมทั้งการถ่ายภาพ Landscape ด้วยเช่นกัน

     การถ่ายภาพขาวดำที่ดี ให้ภาพสวย นอกจากจะเน้นในเรื่องของแสง เงา เรื่องราว เป็นหลักแล้ว สำหรับการนำเทคนิคขาวดำไปใช้กับการถ่าย Landscape นั้นมีเทคนิคเพิ่มเติมมาแนะนำ 5 ข้อครับ
1. Bad Weather, Good Pictures
     ภาพสวยจากสภาพอากาศที่ไม่เป็นใจ มีช่างภาพจำนวนไม่น้อยที่เชื่อว่าการถ่ายภาพในช่วงฟ้าโปร่ง สีน้ำเงินเข้ม มีแสงแดดและเมฆน้อยเท่านั้นที่จะให้ได้ภาพที่ดีมีความน่าสนใจ แต่หากในวันที่สภาพอากาศไม่เป็นใจ การถ่ายภาพ Landscape ออกมาให้เป็นภาพขาวดำก็สามารถทำให้ได้ภาพที่ดีได้เช่นกัน เช่นการใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำถ่ายภาพการเคลื่อนที่ของเมฆออกมาเป็นภาพที่มีความเคลื่อนไหวและรูปร่างต่างๆที่ทำให้ภาพดูน่าสนใจมากขึ้น
     การถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำในเวลากลางวันสามารถทำได้ด้วยการใช้ฟิลเตอร์ ND หรือ Neutral density ที่จะช่วยลดแสงที่ส่อง​ผ่านเข้าไปในเลนส์และทำให้สามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำกว่าปรกติได้ รวมทั้งในปัจจุบันยังสามารถใช้ app. เพื่อเช็คสภาพอากาศผ่านสมาร์ทโฟน ช่วยในการค้นหาสถานที่ที่เหมาะกับการถ่ายภาพได้ง่ายๆอีกด้วย
                                                                              ISO 50, F11, 30 วินาที, ฟิลเตอร์ ND 10 Stop

2. Use the Right Gear
     เลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นกล้อง Mirrorless หรือ DSLR แนะนำให้ใช้โหมดถ่ายภาพ manual ที่สามารถควบคุมการตั้งค่าต่างๆทั้งการปรับรูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ ความไวแสง และค่าอื่นๆได้ด้วยตัวเอง หรือเลือกใช้ขาตั้งกล้องที่ปรับความสูงได้มากพอที่จะมองภาพผ่านช่องมองแทนการใช้จอแสดงผล ขาตั้งกล้องนั้นต้องมีความแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักกล้อง เลนส์รวมทั้งแรงลมในวันที่อากาศไม่ดีได้ด้วย
     นอกจากนั้นยังมีคำแนะนำให้เลือกใช้เลนส์มุมกว้าง เช่น ระยะตั้งแต่ 16 – 24 มม. ที่มีมุมรับภาพกว้างพอในการเก็บทั้งท้องฟ้าและพื้นดิน และควรใช้สายลั่นชัตเตอร์ / รีโมทคอนโทรลไร้สาย หรือหากกล้องรองรับการใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟน ใช้สมาร์ทโฟนควบคุมการตั้งค่าต่างและกดถ่ายภาพได้ จะทำให้ช่างภาพได้รับความสะดวกมากขึ้น
                                                                              iso 50, f11, 30 วินาที, ฟิลเตอร์ ND 10 stop

3. Use Filters

iso 50, f11, 30 วินาที, ฟิลเตอร์ ND 10 stop

     ใช้ฟิลเตอร์ช่วยทำให้ภาพมีความน่าสนใจขึ้นได้ เช่น การใช้ฟิลเตอร์ ND บางรุ่นที่ช่วยลดแสงได้ 10 stop ช่วยให้สามารถถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ 20-30 วินาที ในเวลากลางวันได้ ความเร็วชัตเตอร์ต่ำขนาดนี้จะทำให้เห็นภาพการเคลื่อนไหวของ เมฆ น้ำทะเล ได้อย่างชัดเจน และต้องไม่ลืมว่าให้ปรับโฟกัสให้เรียบร้อยก่อนใส่ฟิลเตอร์ ND ที่หน้าเลนส์โดยเฉพาะ ND ที่ลดแสงได้มากๆ

4. Best Camera Settings

iso 50, f11, 30 วินาที, ฟิลเตอร์ ND 10 stop

     กล้องถ่ายภาพดิจิตอลสามารถเลือกถ่ายภาพแบบขาวดำได้ด้วยการตั้งค่าจากตัวกล้อง ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ความสะดวกมาก แต่หากถ่ายเป็นภาพสีตามปรกติแล้วนำมาแต่งภาพให้เป็นภาพขาวดำภายหลัง ด้วยโปรแกรมต่างๆ เช่น Lightroom, Photoshop, Silver Efex จะช่วยให้การคุมโทนสีของภาพได้ดีกว่า สามารถปรับ layer ของสีขาว ดำ เปลี่ยนค่าโทนของภาพทั้งสี Reds, Yellows, Greens, Cyans, Blues และ Magentas ได้ตามต้องการ
     การบันทึกภาพด้วยไฟล์ RAW เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ในการที่จะนำภาพมาตกแต่งเพิ่มเติมภายหลัง และการใช้ประโยชน์จากการตรวจสอบโทนภาพด้วยฮิสโตแกรมเพื่อช่วยคุมโทนภาพในระหว่างการถ่ายภาพได้ด้วย

5. Make a Print

                                                                                iso 50, f11, 5 วินาที, ฟิลเตอร์ ND 10 stop

    พิมพ์ภาพถ่ายลงบนกระดาษพิมพ์ภาพ อาจจะพิมพ์ที่ lab หรือร้านพิมพ์ภาพที่มีคุณภาพที่คุณไว้ใจเพื่อให้ได้ภาพที่ดีที่สุด หรือหากจะพิมพ์ภาพเอง สิ่งที่ต้องระวังคือการตั้งค่าหน้าจอ (calibrate) ให้สีตรงจริง , เครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพดีพอ เลือกใช้กระดาษที่มีคุณภาพสูง และเป็นชนิดที่ตรงกับความต้องการ

ที่มา  :  fstoppers.com