Photo Techniques

12 ไอเดียง่ายๆถ่ายรูปอยู่บ้าน ลดเสี่ยง เลี่ยง Covid-19

แปลจาก : 12 fantastic photo projects to try indoors during the Covid-19 crisis By Jon Adams
ที่มา  :  digitalcameraworld.com

12 ไอเดียง่ายๆถ่ายรูปอยู่บ้าน เลี่ยง Covid-19 

1. Icy windows ไอเดียนี้อาจจะยากหน่อยสำหรับบ้านเรา อ่านเป็นไอเดียเผื่อมีโอกาสครับ ภาพการเกิดคราบน้ำแข็งเกาะที่กระจกรถยนต์ ในตอนกลางคืนที่อุณหภูมิลดต่ำลง ใช้เลนส์คิทถ่ายในมุมต่างๆกันหลายๆมุม แนะนำให้ใช้โหมด A (Aperture Priority) เลือกรูรับแสง f/11 และถ่ายไฟล์ RAW และนำไปแต่งภาพ ลดเงา ลดโทนมืด เพิ่มคอนทราสต์ และปรับอุณหภูมิสีให้ไปเป็นโทนเย็น

 

2. Make a splash ถ่าย still-life ในสตูดิโอเทียมโดยหาผนังสีขาว หรือสีอ่อนเรียบๆ วางแก้วน้ำใส มีชิ้นเลมอนเสียบที่ปากแก้วเหมือนในภาพ ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้อง เทน้ำจากเหยือกลงในแก้ว แล้วถ่ายภาพจังหวะน้ำกระเซ็นออกจากแก้ว ภาพนี้ใช้แฟลชแยกจากตัวกล้องหันหน้าเข้าผนัง

 

3. Shoot by candlelight ถ่ายภาพพอร์ทเทรตด้วยแสงเทียน โดยให้เห็นเทียนเป็นองค์ประกอบในภาพ แนะนำให้ใช้เลนส์ รูรับแสงสว่าง เช่น 50mm f/1.8 โหมด M (แมนนวล)​ ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/100 วินาที รูรับแสง f/2 ความไวแสง iso1600 และตั้งค่าเป็นไฟล์ RAW โฟกัสดวงตาที่อยู่ใกล้กับกล้องมากที่สุด

 

4. Mix oil and water ใช้เลนส์มาโครถ่ายภาพหยดน้ำมันในน้ำ โดยใช้น้ำผสมสบู่เหลวหรือน้ำยาล้างจานแล้วเขย่าให้เข้ากันจนเกิดฟอง ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วหยดน้ำมันพืชลงไปในน้ำก่อนถ่ายภาพ

 

5. Shoot a rainy day portrait พอร์ตเทรตในวันฝนตก ภาพนี้ถ่ายผ่านกระจกที่มีเม็ดฝนเกาะอยู่ โดยโฟกัสไปที่หยดน้ำ ฉีกกฎการถ่ายภาพพอร์ตเทรตที่ต้องโฟกัสดวงตาให้คมชัด โดยใช้เลนส์ 50mm f/1.8 ใช้โหมด A (Aperture Priority) เปิดรูรับแสงกว้างสุด โฟกัสที่หยดน้ำ ทิ้งให้ใบหน้าของแบบเบลอเป็นฉากหลัง​
     ภาพแบบนี้สามารถประยุกต์ใช้ถ่ายที่อื่นๆได้อีก เช่น ถ่ายผ่านกระจกรถเก็บแสงสีไฟตอนกลางคืน หรือใช้สิ่งของ/สถานที่อื่นๆเป็นฉากหลัง

 

6. Get in the swing แกว่งไฟในห้องมืด ภาพแบบนี้ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ให้ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้อง(อย่าลืมปิดกันสั่นในกล้อง)​ ใช้โหมด M (แมนนวล)​ ตั้งความเร็วชัตเตอร์ 30 วินาที รูรับแสง f/11 ความไวแสง iso 100 ปิดไฟในห้องทุกดวง ให้ห้องมืดที่สุด ใช้เชือกผูกกับไฟฉายที่ปลายด้านหนึ่งแล้วยืนแกว่งที่หน้ากล้อง ภาพที่ได้จะเห็นแสงหมุนเป็นเส้นตามทิศทางการเหวี่ยง เปลี่ยนสีไฟได้โดยใช้กระดาษสีติดที่หน้าไฟฉาย อย่าลืมใช้กระดาษดำปิดหน้ากล้องตอนช่วงเปลี่ยนกระดาษสีด้วยนะครับ

 

7. Split second sculptures ถ่ายภาพหยดน้ำ เป็นการเซ็ทฉากขึ้นมาง่ายๆ คล้ายๆกับการเซ็ทในข้อ 2 แต่เปลี่ยนมาใช้ถาดใส่น้ำ และฉากหลังอาจจะเพิ่มเติมแสงสีหรือกระดาษสีเข้ามาช่วยสร้างสีสันให้กับหยดน้ำ การใช้เลนส์มาโครจะเหมาะกับการถ่ายภาพแบบนี้เพราะจะเข้าใกล้ได้มากกว่า และได้หยดน้ำที่มีขนาดใหญ่ เห็นสีสันและการกระเด็นของน้ำได้ชัดเจน และใช้แฟลชแยกจากกล้องหันหน้าเข้าไปที่ฉากหลังอีกหนึ่งตัว แล้วลองถ่ายภาพหามุมที่แสงแฟลชสะท้อนกับฉากและหยดน้ำได้สวยที่สุด แนะนำให้ตั้งกล้องบนขาตั้ง ใช้โหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง อาจจะใช้แมนนวลโฟกัสโดยปรับความชัดค้างไว้ที่ตำแหน่งหยดน้ำ และเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆเพื่อจับภาพหยดน้ำให้ทัน

 

8. Painting with light วาดเส้นแสงไฟเป็นฉากหลัง โดยใช้ไฟฉายหลากสีหลายขนาด วาดเส้นสีแสงไฟให้เป็นฉากหลังเก๋ๆไม่จำเจ ภาพนี้ถ่ายโดยตั้งขาตั้งกล้องบนขาตั้ง ปิดกันสั่น ปรับความเร็วชัตเตอร์ 8 วินาที f/16 iso 200 ปรับโฟกัสแมนนวลไปที่กีต้าร์ และตั้งเวลาให้กล้องถ่ายเอง (Self Timer)​ ไว้ที่ 5 วินาทีเพ​ื่อกันกล้องสั่นขณะกดชัตเตอร์ จากนั้นปิดไฟในบ้านและเริ่มถ่ายได้ อาจจะเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่นานกว่านี้ได้ตามความต้องการ แต่ต้องไม่ลืมว่าต้องให้ไฟฉายเคลื่อนที่ตลอดเวลาที่ถ่ายภาพ เพื่อป้องกันการะเกด​ิดแสงสว่างเป็นจุดเดียวที่จะสว่างมากขึ้นตามระยะเวลา ที่อาจจะไปรบกวนวัตถุหลักในภาพได้

 

9. Strike a match ถ่ายภาพเปลวไฟที่ปลายไม้ขีด เป็นภาพเสี้ยววินาทีที่ไม้ขีดไฟถูกจุดขึ้น เปลวไฟเริ่มติดขึ้นมา ภาพนี้จะมีเวลาให้บันทึกน้อยมาก แนะนำ​ให้ตั้งค่ากล้องไว้ที่การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงสุดของกล้องที่ใช้ ร่วมกับการใช้เลนส์มาโครเพื่อเข้าใกล้ไม้ขีดได้มากขึ้น เลือกจัดองค์ประกอบได้ตามชอบ ควรถ่ายในห้องที่มีบริเวณและเพดานมีความสูง ไม่มีลมพัดผ่านตรงๆ และใช้ความระมัดระวังเมื่อจุดไฟ

 

10. Smoke signals ภาพควันไฟ ที่เกิดขึ้นง่ายที่สุดจากการจุดธูป โดยให้เลือกใช้หรือเซ็ทฉากหลัง​เป็นสีเข้มหรือสีดำ และใช้แฟลชแยกจากตัวกล้องหนึ่งดวง เลือกมุมที่จะไม่ฉายแสงเข้าที่หน้าเลนส์โดยตรง และลองปรับกำลังไฟแฟลชและถ่ายภาพดูจนกว่าจะได้ค่าที่เห็นควันไฟชัดเจน โฟกัสแมนนวลไปที่ปลายธูปตำแหน่งเดียวกับที่ควันพ่นออกมา ภาพนี้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/200 วินาที f/8 ไฟแฟลชหนึ่งดวง

 

11. Freezing flowers ดอกไม้สีสวยๆที่ถูกแช่แข็งก็สามารถนำมาถ่ายภาพได้ โดยใช้ไฟฉายหลากสีส่องเข้าไปที่ก้อนน้ำแข็งในมุมต่างๆ ลองส่องไฟฉายจากหลายๆมุม แล้วลองถ่ายภาพจากมุมที่แตกต่างกันดูครับ

 

12. Smart art with a smartphone ไฟฉายดวงเล็กๆที่มือถือก็ช่วยได้ ใช้แทนไฟฉายในการถ่ายภาพแบบ long exposure โดยวาดไฟเป็นรูปต่างๆ อาจจะใช้พื้นที่ว่างนอกบ้านหรือบริเวณที่มีพื้นที่พอสมควร ผู้ถือมือถือต้องสวมชุดสีเข้มหรือสีดำ และเคลื่อนไหวตัวเองตลอดเวลาเพื่อไม่ให้ปรากฎตัวในภาพ ภาพนี้ตั้งกล้องบนขาตั้ง ความเร็วชัตเตอร์ 60 วินาที f/16 iso 100