Basic

ไขความ (ไม่) ลับ ของรหัสเลนส์

ในยุคฟิล์มนั้น เลนส์ที่ใช้งานก็จะเป็นเลนส์สำหรับกล้อง Full Frame ทั้งหมด มีน้อยมากที่ออกแบบสำหรับกล้อง Half Frame หรือกล้องที่แบ่งครึ่งเฟรมจากเฟรมถ่ายภาพปกติ ซึ่งแยกกันตามรูปแบบค่อนข้างชัดเจน แต่ในยุคดิจิตอล ที่มีกล้องมากมายหลายรูปแบบ และใช้เซ็นเซอร์ภาพขนาดต่างกัน แน่นอนว่า ช่วงเลนส์ที่นำมาใช้งานก็จะมีตัวเลขที่แตกต่างกัน รวมทั้งใช้รหัสเลนส์ที่แตกต่างกันอีกด้วย

ยังไม่รวมไปถึงเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้ผลิตเลนส์ ซึ่งเจ้าของแบรนด์จะแปะเอาไว้ที่กระบอก หรือด้านหน้าเลนส์ ให้รู้เอาไว้ว่าเลนส์นั้นๆ ออกแบบสำหรับการใช้งานแบบไหน ระดับไหน หรือใช้กับกล้องแบบไหน ซึ่งบางรุ่นก็จะมีชื่อที่ค่อนข้างยาวเหยียด ชวนให้มึนหัวกันอยู่ไม่น้อยทีเดียว นิตยสารโฟโต้อินโฟพลัส จึงได้รวบรวมรหัสเลนส์ของแต่ละค่าย ทั้งค่ายแบรนด์กล้อง และค่ายผู้ผลิตอิสระ มานำเสนอให้ทราบกันเอาไว้ จะได้เป็นแนวทางในการเลือกหาเลนส์มาใช้งานครับ

 


EF เป็นเมาท์เลนส์ระบบออโต้โฟกัส ใช้งานได้ทั้งกล้องฟิล์ม และกล้องดิจิตอล
EF-S เป็นเมาท์เลนส์ระบบออโต้โฟกัส สำหรับกล้องดิจิตอลที่ใช้เซ็นเซอร์ APS-C
EF-M เป็นเมาท์เลนส์ระบบออโต้โฟกัส สำหรับกล้องดิจิตอล EOS M-series
RF เป็นเมาท์เลนส์ระบบออโต้โฟกัส สำหรับกล้องดิจิตอล EOS R-series
L เป็นเลนส์เกรดโปร ที่ใช้ชิ้นเลนส์พิเศษหลายชนิด เพื่อช่วยปรับแก้ไขความบิดเบือนต่างๆ
IS เป็นระบบป้องกันการสั่นไหว
USM เป็นมอเตอร์โฟกัสความเร็วสูงและปรับโฟกัสได้เงียบ
STM เป็นระบบโฟกัสแบบ Stepping Motor ในเลนส์รุ่นใหม่ๆ ของแคนนอน
IF ระบบปรับโฟกัสที่ชิ้นเลนส์จะเคลื่อนที่อยู่ภายในกระบอกเลนส์
DO เป็นชิ้นเลนส์พิเศษที่ออกแบบให้เป็นวงวางซ้อนกัน ซึ่งทำให้ออกแบบเลนส์ได้เล็กกว่าปกติที่ทางยาวโฟกัสเท่าๆ กัน
MP-E เป็นเลนส์มาโครที่มีกำลังขยายสูงกว่าเลนส์มาโครปกติ
TS-E เป็นเลนส์ Tilt-Shift สำหรับปรับแก้ไขความคลาดของรูปทรงในงานสถาปัตยกรรม

สำหรับรหัสตัวเลขที่อยู่ตรงด้านท้ายเลนส์นั้น
อักษรตัวแรก จะแทนเมืองที่ผลิตเลนส์ ซึ่งในประเทศญี่ปุ่น แคนนอนมีโรงงานผลิตเลนส์อยู่ 3 เมือง คือ เมือง Utsunomiya ใช้รหัสตัว U, เมือง Fukushima ใช้รหัสตัว F และเมือง Oita ใช้รหัส O
อักษรตัวที่สอง
จะเป็นปีที่ผลิต โดยเลนส์ตัวแรก ผลิตในปี 1860 จะใช้อักษร A และไล่ตามตัวอักษรไปเรื่อยๆ จนครบที่ Z ซึ่งก็คือปี 1985 จากนั้นจะวนกลับมาใช้ซํ้า

ยกตัวอย่างเลนส์ใหม่รหัส UZ05xxตัว U จะหมายถึงเลนส์ที่ผลิตที่เมือง Utsunomiya, ตัว Z คือผลิตในปี 2011, เลข 05 คือผลิตในเดือนพฤษภาคมนั่นเองครับ



XF เลนส์ออโต้โฟกัสคุณภาพสูง ที่ใช้เม้าท์เลนส์เป็นโลหะ
R เป็นเลนส์ที่มีวงแหวนปรับรูรับแสงที่ตัวเลนส์
XC เลนส์ออโต้โฟกัสราคาประหยัด
EBC เป็นเทคโนโลยีการเคลือบผิวเลนส์
GF เป็นเลนส์ที่ออกแบบให้ใช้งานกับกล้อง Medium Format ตระกูล GFX
WR เป็นเลนส์ที่ได้รับการซีลตามรอยต่อ เพื่อป้องกันฝุ่นและละอองนํ้า
APD เป็นชิ้นเลนส์พิเศษ Apodization ที่ช่วยให้ได้โบเก้ที่สวยงามเนียนตา
LM เป็นระบบออโต้โฟกัส Linear Motor
OIS เป็นระบบป้องกันการสั่นไหว
PZ เป็นเลนส์ที่ใช้ระบบปรับซูมด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า



APO เป็นเลนส์ที่ได้รับการปรับแก้ความคลาดสี ทั้งในระยะโฟกัสและนอกระยะโฟกัส
Zero-D เป็นเลนส์ได้รับการปรับแก้ไขให้มี Distortion ตํ่า



ED ใช้ชิ้นเลนส์คุณภาพสูง ช่วยลดความคลาดของสี
AS ใช้ชิ้นเลนส์คุณภาพสูง ให้ภาพที่คมชัดทั่วทั้งภาพ
UMC เป็นระบบเคลือบผิวเลนส์ ช่วยลดการเกิดภาพหลอนและอาการแฟลร์
IF ระบบปรับโฟกัสภายในกระบอกเลนส์



AF เลนส์ระบบ Auto Focus
AF-S เลนส์ระบบ Auto Focus ที่มีมอเตอร์โฟกัสในตัว
FX เลนส์ใช้งานกับกล้องฟูลเฟรม ทั้งกล้องฟิล์มและกล้องดิจิตอล
DX เลนส์ใช้งานกับกล้องดิจิตอลที่ใช้เซ็นเซอร์แบบ APS-C
S เป็นเลนส์ของกล้อง Mirrorless Z-mount
VR ระบบป้องกันการสั่นไหว
FL เลนส์เกรดโปรที่มีชิ้นเลนส์ Fluorite เป็นส่วนประกอบ
ED ชิ้นเลนส์คุณภาพสูง ช่วยลดความคลาดของสี
N เทคโนโลยีการเคลือบผิวชิ้นเลนส์ (ซึ่งเลนส์เกรดโปรรุ่นใหม่ๆ จะเป็นเลนส์ที่เคลือบผิวเลนส์ด้วยเทคโนโลยีนี้ และเรียกันสั้นๆ ว่าเลนส์ Nano)
IF ระบบปรับโฟกัสภายในกระบอกเลนส์
PF ชิ้นเลนส์ Phase Fresnel ลิขสิทธิ์ของ Nikon
E เป็นเลนส์ที่ออกแบบการปรับรูรับแสงแบบอิเลกทรอนิกส์
G เลนส์ที่ไม่มีวงแหวนปรับรูรับแสงที่กระบอกเลนส์
D เป็นเลนส์ที่มี cpu ในตัวเลนส์ รองรับการวัดแสงแฟลชที่นำเอาระยะทางมาคำนวณด้วย
DC เป็นเลนส์พิเศษที่สามารถปรับความเบลอของฉากหลังได้ด้วยวงแหวนพิเศษสำหรับตวบคุมความเบลอโดยเฉพาะ
SIC เป็นระบบเคลือบผิวเลนส์ ช่วยลดการเกิดภาพหลอน และแฟลร์
SWM เป็นเลนส์ที่ใช้มอเตอร์โฟกัสแบบ Silent Wave Motor
M/A เป็นเลนส์ที่สามารถปรับหมุนโฟกัสแบบแมนนวลได้ตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องเลื่อนสวิทช์มาที่ MF



G เลนส์ Lumix จากค่ายพานาโซนิคเอง
DG เลนส์เกรดโปรภายใต้แบรนด์ Leica
X เป็นเลนส์เกรดพรีเมี่ยม
L เป็นเลนส์ที่ออกแบบสำหรับกล้องฟูลเฟรม S-series
Mega O.I.S ระบบป้องกันการสั่นไหวแบบปรับชิฟท์เซ็นเซอร์ภาพ
Power O.I.S ระบบป้องกันการสั่นไหวที่ผสมผสานทั้งการปรับชิฟท์เซ็นเซอร์และการปรับเพิ่มความไวแสง
ASPH เป็นชิ้นเลนส์ที่ช่วยปรับแก้ความคลาดทรงกลม ให้ภาพที่คมชัดทั่วทั้งภาพ
PZ เป็นเลนส์ที่ใช้ปุ่มโยกปรับซูมด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า



Zuiko เป็นเลนส์สำหรับกล้องดิจิตอล SLR ฟอร์แมท 4:3
M.Zuiko เป็นเลนส์สำหรับกล้อง Mirrorless ฟอร์แมท 4:3 เมาท์เลนส์ Micro Four-Thirds (M43)
M.Zuiko Pro เป็นเลนส์เกรดโปรสำหรับกล้อง Mirrorless
ED ชิ้นเลนส์คุณภาพสูง ช่วยลดความคลาดของสี
SWD มอเตอร์โฟกัสในตัว มีการทำงานที่รวดเร็วและเงียบเชียบ
MSC เลนส์ที่ออกแบบให้ใช้งานได้ทั้งภาพนิ่งและวิดีโอได้เป็นอย่างดี



DI เลนส์ที่ออกแบบให้ใช้งานได้ทั้งกล้องฟิล์มและกล้องดิจิตอล
Di-II เลนส์ที่ออกแบบโดยเฉพาะสำหรับกับกล้องดิจิตอลที่ใช้เซ็นเซอร์ภาพขนาด APS-C
Di-III เลนส์ที่ออกแบบโดยเฉพาะสำหรับกับกล้อง Mirrorless
IF ระบบปรับโฟกัสภายในกระบอกเลนส์
ASL เป็นเทคโนโลยีในการใช้ชิ้นเลนส์ Hybrid Aspherical หลายชิ้น เพื่อแก้ไขปัญหาความคลาดทรงกลม
LD ใช้ชิ้นเลนส์ช่วยลดการกระจายแสง ให้ภาพที่คมชัด และสีสันอิ่มตัว
ASP เป็นชิ้นเลนส์ที่ช่วยปรับแก้ความคลาดทรงกลม ให้ภาพที่คมชัดทั่วทั้งภาพ
SP เป็นเลนส์ประสิทธิภาพสูงที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ
XR เป็นเทคโนโลยีการผลิตชิ้นแก้วกระจายแสง ลดความคลาดของสีให้ตํ่าที่สุด และช่วยให้การออกแบบเลนส์มีขนาดเล็กะทัดรัด นํ้าหนักเบา
USD มอเตอร์ออโต้โฟกัส สำหรับรุ่นที่มีมอเตอร์โฟกัสในตัว
VC เป็นระบบป้องกันการสั่นไหวในตัวเลนส์



F เป็นเลนส์ออโต้โฟกัสยุคแรกๆ ที่ออกแบบให้ใช้งานกับกล้องฟิล์ม
FA เป็นเลนส์ที่ออกแบบให้ใช้งานได้ทั้งกับกล้องฟิล์ม และกล้องดิจิตอล
D FA เป็นเลนส์ที่เคลือบผิวพิเศษเพื่อให้เหมาะสำหรับใช้งานกับกล้องดิจิตอล
D FA* เป็นเลนส์เกรดโปรสำหรับกล้องดิจิตอลฟูลเฟรม
DA เลนส์สำหรับกล้องดิจิตอลที่ใช้เซ็นเซอร์ภาพขนาด APS-C เท่านั้น
DA* เลนส์เกรดโปร สำหรับกล้องดิจิตอลที่ใช้เซ็นเซอร์ภาพขนาด APS-C
DAL เลนส์ราคาประหยัด สำหรับกล้องดิจิตอล APS-C
SDM เป็นเลนส์ที่มีมอเตอร์โฟกัสในตัว
AL ชิ้นเลนส์ Aspherical แก้ความคลาดทรงกลม
ED ชิ้นเลนส์คุณภาพสูง ช่วยลดความคลาดของสี
HD เลนส์ที่ได้รับการเคลือบผิวเลนส์แบบพิเศษ
WR เป็นเลนส์ที่ออกแบบพิเศษ ซีลป้องกันฝุ่นและละอองนํ้า
AW เป็นเลนส์ที่ออกแบบให้สามารถนำไปใช้งานได้ในทุกสภาพอากาศ
IF ระบบปรับโฟกัสภายในกระบอกเลนส์



A เป็นเลนส์คุณภาพสูง Art-series
C เป็นเลนส์แบบ Contemporary สำหรับการใช้งานทั่วๆ ไป
S เป็นเลนส์แบบ Sport สำหรับการใช้งานหนักแบบมืออาชีพ
DG เป็นเลนส์ที่ออกแบบสำหรับใช้งานกับกล้องฟิล์ม และกล้องดิจิตอลที่ใช้เซ็นเซอร์ฟูลเฟรม
DC เป็นเลนส์ที่ออกแบบให้ใช้งานกับกล้องดิจิตอลที่ใช้เซ็นเซอร์ขนาด APS-C
DN เป็นเลนส์ที่ออกแบบให้ใช้งานสำหรับกล้อง Mirrorless
EX เป็นเลนส์คุณภาพสูง เกรดโปร
HSM เป็นเลนส์ที่มีมอเตอร์โฟกัสในตัว ช่วยให้ปรับโฟกัสได้เร็ว และเงียบ
APO เป็นชิ้นเลนส์พิเศษ ที่ได้รับการเพิ่มการเคลือบผิวของเลนส์ ให้สีสันที่ถูกต้องมากขึ้น
ASP เป็นชิ้นเลนส์ที่ช่วยปรับแก้ความคลาดทรงกลม ให้ภาพที่คมชัดทั่วทั้งภาพ
IF ระบบปรับโฟกัสภายในกระบอกเลนส์
OS ระบบป้องกันการสั่นไหวในตัว



FE เป็นเลนส์สำหรับใช้กับกล้อง Mirrorless A-series ที่ใช้เซ็นเซอร์ภาพฟูลเฟรม
SAL เลนส์สำหรับใช้กับกล้องอัลฟ่า A-mount
SEL เลนส์สำหรับใช้กับกล้อง Mirrorless ที่ใช้เซ็นเซอร์ APS-C
DT  เลนส์ที่ออกแบบสำหรับกล้องอัลฟ่า A-mount ที่ใช้เซ็นเซอร์โฟกัสขนาด APS-C
SAM เลนส์ที่มีมอเตอร์โฟกัสในตัว สำหรับเลนส์ทั่วไป
SSM เป็นเลนส์ที่มีมอเตอร์โฟกัสในตัว สำหรับเลนส์เกรดโปร ปรับโฟกัสได้เร็ว แม่นยำ และเงียบ
DDSSM มอเตอร์โฟกัสที่พัฒนามาจาก SSM ส่วนใหญ่จะใช้กับเลนส์ทางยาวโฟกัสสูงๆ เกรดโปร
G เลนส์คุณภาพสูง เกรดโปร
GM เลนส์คุณภาพสูง เกรดพรีเมี่ยม
Z เลนส์ที่ร่วมกันพัฒนาคุณภาพระหว่างโซนี่กับ Carl Zeiss
IF ระบบปรับโฟกัสภายในกระบอกเลนส์
ED ชิ้นเลนส์คุณภาพสูง ช่วยลดความคลาดของสี
ADI เป็นระบบที่รองรับการคำนวณแสงแฟลชโดยอาศัยระยะทางเข้ามาร่วมด้วย
APO เป็นชิ้นเลนส์พิเศษ ที่ได้รับการเพิ่มการเคลือบผิวของเลนส์ ให้สีสันที่ถูกต้องมากขึ้น
OSS เป็นระบบป้องกันการสั่นไหวในเลนส์
STF เป็นเลนส์ที่มีชิ้นเลนส์พิเศษที่ช่วยให้ได้โบเก้สวยเนียนตา



AT-X เป็นชื่อเลนส์ของโตกิน่า ซึ่งมี Pro FX เลนส์คุณภาพสูงเกรดโปรสูงสุด, Pro DX เลนส์คุณภาพสูงเกรดโปร และ DX เลนส์เกรดปกติทั่วๆ ไป
AS ใช้ชิ้นเลนส์แอสเฟอริคัล แก้ปัญหาความคลาดทรงกลม ให้ภาพที่คมชัดทั้วทั้งภาพ
FC ออกแบบรระบบโฟกัสให้สลับระหว่าง AF กับ MF โดยการดึงหรือดันวงแหวนโฟกัสเข้าหรือออก
LD ใช้ชิ้นเลนส์ช่วยลดการกระจายแสง ให้ภาพที่คมชัด และสีสันอิ่มตัว
HLD เพิ่มประสิทธิภาพในการหักเหแสงได้ดีขึ้น และลดการกระจายของแสงน้อยลง ให้ภาพที่คมชัด มีสีสันอิ่มตัว
SD ปรับแก้ไขความคลาดของแสงให้ลดการเกิดภาพเหลื่อม (CA)
IF ระบบปรับโฟกัสภายในกระบอกเลนส์
MC ใช้ชิ้นเลนส์เคลือบหลายชั้น
DC เป็นมอเตอร์โฟกัสในตัวสำหรับรุ่น Pro
FX และมีรหัส II ต่อท้ายชื่อสำหรับบางรุ่น เช่น 12-24 มม. F4

เรียบเรียง : กองบรรณาธิการ


อย่าลืมกด Like เพจ FOTOINFO เพื่อติดตามและอัพเดทข่าวสารใหม่ๆ อย่างทันท่วงทีกันนะคร๊าบ ^^


ติดตาม FOTOINFO ได้ทั้งรูปแบบนิตยสาร Free Copy, e-magazine ฟรีดาวน์โหลด และช่องทางอื่นๆออนไลน์ได้ที่
Line@ : @fotoinfo
YouTube : Fotoinfo Channel
Website : fotoinfomag.com
e-magazine : issuu.com/fotoinfomagazine


ติดตามเทคนิค ความรู้เรื่องการถ่ายภาพ กิจกรรมถ่ายภาพ และสิทธิประโยชน์มากมาย ส่งตรงถึงคุณ ได้ที่นี่ FotoinfoPlus

หรือสนใจสาระความรู้ด้านการถ่ายภาพที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่นี่

https://test2.fotoinfo.online/all-about-photo/basic